กุญแจสำคัญของทฤษฎี

ทฤษฎีพัฒนาการ
ที่
ทฤษฎี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ลำดับขั้น
การบระยุกต์ใช้ในห้องเรียน
1
ฟรอยด์
บุคลิกภาพ
พฤติกรรมของ- ผู้ใหญ่จะดีหรือไม่ดีให้ย้อนไปดูพฤติกรรมในวัยเด็กอายุ 0-6 ขวบ (Criticle period)
ขั้นความพึงพอใจมี   5 ขั้น
1.ครูควรจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลัก
2. ครูไม่ควรแสดงความคิดเห็นในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพราะจะทำให้เด็กขาดจินตนาการ
3.ครูควรจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตประจำวันของเด็ก
2
อีริคสัน
บุคลิกภาพ
การสร้างฐานแต่ละฐานให้แข็งแกร่งตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้าย เปรียบเสมือนการสร้างบ้านที่จะต้องมีฐานที่แข็งแรงและมั่นคง เพื่อที่จะได้บ้านที่สวยงามแข็งแรงและมั่นคง
พัฒนาการมี8ขั้น
1. ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กรู้จักเอกลักษณ์ของตนเอง
2.ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน
3.ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้เกี่ยวกับความใกล้ชิดผูกพันของคนใกล้ตัว
3
โรเบิร์ต เจ
พัฒนาการตามวัย
งานพัฒนาการ เป็นงานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์พลของงานพัฒนาการแต่ละวัยมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นรากฐานของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไ
พัฒนาการมี3 ระดับ 6 ขั้น
1.ครูควรจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับศีลธรรม จรรยา มารยาท
2. ครูควรให้รางวัลกับเด็กที่ทำความดีและทำโทษกับเด็กที่ทำความผิด
3. ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน


4
โคเบิร์ก
จริยธรรม
การพัฒนาการจริยธรรมของเด็กและ- ผู้ใหญ่ในแต่ละระดับขึ้นอยู่กับระดับในการวิเคราะห์
ลำดับขั้นพัฒนาการจริยธรรมมี 6 ขั้น
1. ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกที่ควรเกี่ยวกับระเบียบประเพณี
2. ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกที่ควรเกี่ยวกับจริยธรรม
3.  ครูจัดกิจกรรมให้เด็กแสดงความคิดและสินใจว่าพฤติกรรมใดถูกหรือผิด
5
เพียเจต์
สติัญญา
เด็กจะเกิดการพัฒนาสติปัญญาได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์(Interaction)กับสิ่งแวดล้อม(Environment)
พัฒนาการมี 4 ขั้น
1. นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกันนักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
 - ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences)
 - ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences)
2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
- เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
- เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
 - เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
- เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
3. การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
- ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
- ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
- ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
- ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
6
บรูเนอร์
สติปัญญา
Discovery learningการเรียนแบบสืบสวน สอบสวน
พัฒนาการมี 3 ขั้น
1.ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2. การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
3.  การเสริมแรงของผู้เรียน


 ทฤษฎีการเรียนรู้

ที่
ทฤษฎี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1.
พาฟลอฟ
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
Type S
(สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม)
       ครูเพ็ญเป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ เขาเป็นครูที่ดุ เมื่อถึงคาบเรียน นักเรียนจะรู้สึกกลัวไม่อยากเข้าเรียนวิชานี้ วันหนึ่งครูเพ็ญสังเกตเห็นนักเรียนเริ่มไม่ตั้งใจเรียน สีหน้าวิตกกังวล ครูเพ็ญจึงหากิจกรรมมาให้เด็กๆทำ พอถึงคาบวันต่อมาครูเพ็ญสอนเนื้อหาในรายวิชาพร้อมให้นักเรียนทำกิจกรรม ทำให้นักเรียนรู้สึกอยากเรียนและเกิดความรู้สึกอยากเข้าใกล้ครูมากขึ้น
2.
วัตสัน
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
Type S

หนูแดงเป็นคนที่ชอบปั้นดินน้ำมัน วันหนึ่งหนูแดงนั่งปั้นดินน้ำมันอยู่ มีเพื่อนคนหนึ่งปาดินน้ำมันก้อนใหญ่โดนหัวหนูแดง วันต่อมาเพื่อนก็ปาใส่อีก และหนูแดงก็โดนเพื่อนปาดินน้ำมันใส่อีกหลายๆครั้ง  ทำให้หนูแดงไม่กล้านั่งปั้นดิน น้ำมันอีก วันหนึ่งครูฟ้าเรียกหนูแดงให้มานั่งปั้นดินน้ำมันพร้อมกับบอกเด็กๆว่า “ดินน้ำมันไม่ใช่สิ่งของที่ไว้ปาเล่นน่ะค่ะ ดินน้ำมันเป็นสิ่งที่เขาเอาไว้ปั้นเป็นรูปต่างๆ เด็กๆห้ามปาเล่นอีกน่ะค่ะ ไม่งั้นครูจะทำโทษ” หลังจากวันนั้นหนูแดงเริ่มรู้สึกมั่นใจว่าจะไม่มีใครปาใส่อีกแล้ว ทำให้หนูแดงเริ่มกลับมาชอบการปั้นดินน้ำมันเหมือนเดิมและมีความสุขกับการปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ
3.
สกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือทำ
       การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ส่วนการกระทำที่ไม่เสริมแรงมีแนวโน้มที่การกระทำนั้นๆจะลดลงและค่อยๆหายไป
น้องเมย์เป็นเด็กที่ชอบตอบคำถามเวลาครูถาม เพราะเวลาตอบแล้วจะได้รางวัล เวลาน้องเมย์ตอบคำถามทุกครั้งน้องเมย์จะได้รางวัลจากครู แต่ช่วงหลังๆเวลาตอบคำถามครูจะไม่ค่อยให้รางวัลจึงทำให้น้องเมย์ไม่ตั้งใจเรียนและรู้สึกไม่อยากตอบคำถามที่ครูถาม
4.
ธอร์นไดค์
ทฤษฎีการสัมพันธ์เชื่อมโยง
Type S – R
Step 1 เรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)
Step 2 เชิ่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (S – R Bond)
        ครูให้ลูกเกดเขียน ก-ฮ ตามรอยประ เพื่อแสดงพฤติกรรมลองผิดลองถูก
ทดลองครั้งที่ 1 ลูกเกดลองผิดลองถูกด้วยการเขียนตัวอักษรจากหางมาหัว
ทดลองครั้งที่ 2ลูกเกดลองผิดลองถูกด้วยการเขียนตัวอักษรบางตัวด้วยการเริ่มจากหางมาหัวและบางตัวเริ่มจากหัวมาหาง
ทดลองครั้งที่ 3 ลูกเกดเห็นครูสอนน้องบีว่าจะต้องเริ่มเขียนจากหัวไปก่อนเป็นวิธีเขียนที่ถูกต้อง ลูกเกดจึงเกิดการเรียนรู้และจดจำว่าการเขียนตัวอักษรที่ถูกวิธีนั้นจะต้องเริ่มจากหัวก่อน

5.
แบนดูรา
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมพุทธิปัญญา
        การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
น้องเจมส์เป็นเด็กที่เกเร และไม่ตั้งใจเรียน เพื่อนๆในห้องจึงไม่มีใครอยากคบกับน้องเจมส์ ครูมาลีจึงบอกน้องเจมส์ว่า ถ้าน้องเจมส์อยากมีเพื่อน น้องเจมส์ต้องตั้งใจเรียน และไม่เกเรน่ะค่ะ แล้วเพื่อนๆก็จะกลับมาคบกับน้องเจมส์ หลังจากวันนั้นน้องเจมส์ก็ไม่เกเรและตั้งใจเรียนทำให้เพื่อนๆกลับมาคบกับน้องเจมส์และน้องเจมส์ก็ยังเป็นที่รักของเพื่อนๆอีกด้วย
6.
เกสตัลท์
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
การรับรู้ (perception) และนำไปสู่การหยั่งเห็น (Insight)
        หนูนิดอยากระบายสี จึงไปหยิบสีและสมุดระบายสีบนตู้ แต่หนูนิดหยิบไม่ถึง หนูนิดพยายามอยู่หลายวิธี แต่ก็หยิบไม่ได้สักที หนูนิดหันไปเห็นเก้าอี้วางอยู่ จึงลากเก้าอี้และปีนขึ้นไปหยิบสี และ สมุดระบายสี จนได้ระบายสีอย่างที่ตัวเองต้องการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น